วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง



ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ

ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น.
มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)
บวชเป็น สามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตรต่อมาย้ายมา
ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี
ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ
และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง
ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ
และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้า
สมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทรพระบรมโอรสาธิราช
ให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ
บวช เป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี
สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวง
โดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก
ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น
แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไปเป็นเจ้าอาวาสวัด ระฆังฯ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง
เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ
ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี
ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น “พระธรรมกิตติ”
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395
ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน
พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น “พระเทพกวี”
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น“สมเด็จพระพุฒาจารย์”
ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า “สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง”
เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง “สมเด็จโต”
ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี
อายุพรรษาได้ 56 พรรษาแล้วมรณภาพ
สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ
มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234
ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ
บนศาลาใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม
สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์
ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา
สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดี
ต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่ยิ่ง
ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ

พระคาถาชินบัญชร (ข้อมูล) (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน)
เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย

ชินบัญชร แปลว่า กรง ซี่กรงของพระชินเจ้า

ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า และคำว่า บัญชร ซึ่งแปลว่า กรง ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้

พระวาจาตรัสเรื่องคาถาชินบัญชร

คาถาชินบัญชร เป็นที่นับถือสวดกันอย่างแพร่หลาย กล่าวกันว่าเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เคยได้นำมาขอให้แปล เพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ครั้งหนึ่ง เมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างได้ ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นเองหรือได้ต้นฉบับมาจากไหน

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาให้เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็ก พิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of The Dhamma (กระจกธรรม)โดยท่านนารทมหาเถระ และท่านกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ (ของศรีลังกา ตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๓ ของไทย) ค.ศ.๑๙๖๑ เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่จะใช่สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้ เริ่มแต่ นโมพุทฺธ ศีล๕ ศีล๘ ศีล๑๐ คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบูชา คำสมาธิภาวนาต่าง ๆ บทสวดมี พาหุง ชินบัญชร มงคลสูตร รัตนสูตร เป็นต้น ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหฬและอักษรโรมัน มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อได้อ่านชินบัญชรในหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึงจับความได้ หายความข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดจะปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตรฉบับลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย

ทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้ว ก็รู้สึกว่าต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่ ฉบับลังกานั้นมี ๒๒ บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี ๑๔ บท ก็คือ ๑๔ บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ ๑๔ ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก คาถาบทที่ ๙ ของฉบับไทย บรรทัดที่ ๒ น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้ ส่วนคาถาบทที่ ๑๒ และ ๑๓ สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี

ในการพิมพ์ครั้งนี้ เรียงชินบัญชรฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ปรับปรุงขึ้นใหม่ อนุวัตรแบบลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควร และมีคำแปลเป็นภาษาไทย ที่แปลขึ้นใหม่ในคราวนี้เช่นเดียวกัน ในการแปลครั้งนี้ ไม่ได้เทียบกับคำแปลเก่าที่เคยแปลไว้เพราะไม่พบฉบับที่แปลไว้ บทสวด พาหุง และชินบัญชร เป็นที่นิยมสวดกันในเมืองไทยมาช้านาน แต่บทสวดพาหุง มีถ้อยคำที่ยุติแน่นอน ส่วนบทสวดชินบัญชร แต่ละฉบับ แต่ละสำนัก ยังผิดแผกกันอยู่ ถ้าอาจทำให้ยุติเป็นแบบเดียวกันได้ ก็จะเป็นการดี

สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ตุลาคม ๒๕๑๘
Reference: www..wikipedia.org/wiki/พระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชร
ในการสวด คาถาชินบัญชร เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งๆ ขึ้น ก่อนจะเจริญภาวนา
จึงขอให้ตั้งนะโม 3 จบ และน้อมจิตระลึกถึงคุณพระคุณสมเด็จโต ด้วยคำบูชาดังนี้

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง   ธะนะกาโมละเภธะนัง

อัตถิกาเยกายะ ญายะ    เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา             ยะมะราชาโน
ท้าวเวสสุวัณโณ           มรณังสุขัง
อะระหังสุคะโต              นะโมพุทธายะ

๑.
ชะยา สะนา กะตา พุทธา  เชตะวา มารัง สะวา หะนัง
จะตุ สัจจา สะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะรา สะภา

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
๒.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา       อัฏฐะวีสะติ นา ยะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเก เต มุนิส สะรา
มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงนามว่า ตันหังกร เป็นอาทิ พระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น

๓.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโล จะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง     อุเร สัพพะคุณา กะโร
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศรีษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

๔.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ                   สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภา คัสสะมิง     โมคคัลลาโน จะวา มะเก
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง

๕.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง        อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะมะหา นาโม      อุภาสุง วามะโส ตะเก
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

๖.
เกสะโต ปิฏฐิภา คัสสะมิง     สุริโย วะ ปะภัง กะโร
นิสินโน สิริสัม ปันโน           โสภีโต มุนิปุง คะโว
มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
๗.
กุมาระกัสสะโป เถโร                มะเหสี จิตตะวา ทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง          ปะติฏฐาสิ คุณา กะโร
พระเถระกุมาระกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากประจำ

๘.
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ           อุปาลี นันทะสี วะลี
เถรา ปัญจะอิเม ชาตา            นะลาเต ติละกา มะมะ
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

๙.
เสสา สีติ มะหาเถรา       วิชิตา ชินะสา วะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา         ชิตะวันโต ชิโน ระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ    อังคะมังเค สุสัณ ฐิตา
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

๑๐.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ          ทักขิเณ เมตตะสุต ตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ      วาเม อังคุลิมา ละกัง
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง

๑๑.
ขันธะโม ระปะริตัญ จะ        อาฏานาฏิยะสุต ตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ        เสสา ปาการะ สัณฐิตา
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตรเป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

๑๒.
ชินานา วะระสังยุตตา         สัตตัปปาการะลัง กะตา
วาตะปิตตาทิสัญ ชาตา       พาหิรัช ฌัตตุปัท ทะวา
อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

๑๓.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ         อะนันตะ ชินะเต ชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจ นะ     สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศอย่าให้เหลือ


๑๔.
ชินะ ปัญชะระ มัชฌัมหิ      วิหะรันตัง มะหิี ตะเล
สะทา ปาเลนตุมัง สัพเพ    เต มะหาปุริสา สะภา
ขอพระมหาบุรุษ ผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล

๑๕.
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข     ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตา ริสังโฆ        สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะ ราโย
สัทธัมมานุภาวะ ปาลิโต              จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ ฯ

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น