วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คุยเรื่อง...ฌาน

             ถาม... การทำสมาธิจะทราบได้อย่างไรว่าเราได้ฌาน และมีอะไรเป็นเครื่องวัด?

             หลวงพ่อ... ฝึกสมาธิเหมือนการกีฬา ถ้าตัวเองเก่งก็จะรู้ว่าเอง ถ้าตนเองชำนาญก็จะรู้
                   เหมือนกับการว่ายน้ำ ถ้าโดดลงไป... ตู้ม      มันจม...เราก็รู้ว่าเราว่านไม่เป็น 
                   ถ้าเราโดดไป... ตู้ม เราว่ายได้ เราก็รู้ว่าเราว่ายเป็น   เหมือนเราทานข้าวนี่
                   เรากินเข้าไปแล้ว  เราจะรู้ว่ามันเป็นยังไง เปรี้ยว , หวาน , มัน , เค็ม  ยังไม่อิ่มเราก็รู้ 
                   อิ่มแล้วเราก็รู้  สมาธิมันก็รูตัวเองอย่างนั้น  ฉะนั้นคนทำจึงจะรู้ เข้าใจไหม?  พอเข้าใจนะ
                   ก็ต้องทำ ทำแล้วจะรู้

                                   เรื่องฌานเรื่องฌาน...  ไม่ต้องให้ใครบอกว่า "คุณถึงฌานขั้นนั้น..."
                   ถ้าเราทำสมาธิแล้วยังต้องคอยให้คนอื่นมาบอกแสดงว่าสมาธิเราไม่เกิดปัญญา
                   แสดงว่าหลงทาง  คนที่ถามก็หลงทาง  คนที่บอกก็หลงทาง  สมาธิมันก็ต้องเป็นปัจจัตตัง
                   ตัวเองต้องรู้  เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าบอกไว้ว่า  สมาธิทำให้เกิดปัญญา
                    ถ้าไม่เกิดปัญญาก็ไม่ใช่สมาธิ

               ถาม... ที่ว่ามีการสอบอารมณ์นี่ล่ะครับ  จำเป็นแค่ไหน?

               หลวงพ่อ... ก็จำเป็นบ้าง  ถ้าเกิดลูกศิษย์หลงทางไปด้วย  สอบอไรก็หลงทาง  แต่ถ้า
                     อาจารย์หลงทางซะเอง ลูกศิษย์ก็หลงทางไปด้วย  สอบอะไรก็หลง  พากันหลงเลย

                                   ใครที่บอกว่า "คุณนี้ได้โสดาบันนะ ได้สกินทาคาฯ นะ"  นั้นหลงเลย

                ถาม... ถ้าระดับพระอริยเจ้านี่ ไต้องมาบอกกันว่า"คุณได้"

                หลวงพ่อ... เขาทำงาน  เขาก็รู้ว่าเขาได้เงินเดือนเท่าไร  ไม่ต้องไปบอกเขาหรอก
                        เจ้านายให้มาแล้วเขาก็รู้เลยว่าเขามีเงินเดือนเท่าไร  เขารู้ใช้ไหม?  แล้วเงินใน
                        กระเป๋าเขามีอยู่เท่าไรเขาก็ต้องรู้  คนตาบอดยังรู้เลย

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

The Seven Practices For a Healthy Mind




ได้ยินชื่อหลวงพ่อครั้งแรกจากการพูดคุยกับกับเพื่อนระหว่างที่อยู่ในประเทศจีน
วันเดียวกับที่พูดคุยกันนั้นเอง  เพื่อนรักกำลังสนทนาธรรมกับหลวงพ่ออยู่ที่
วัดสุนันทวนาราม  จังหวัดกาญจนบุรี

และอีกอาทิตย์ถัดมา  กลับมาถึงเมืองไทยก็ได้รับหนังสือของหลวงพ่อ
จากเพื่อนรักที่นำมาฝากหลายเล่มเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด   เป็นหนังสือชุดแรก
ของหลวงพ่อที่ได้อ่าน  แนวการสอนของหลวงพ่อน่าสนใจมาก 
และมีประโยชน์ในเวลาต่อมาอย่างมาก   หลังจากนั้นก็ยังคงได้รับหนังสือ
ของหลวงพ่อจากเพื่อนคนอื่นๆ ที่ไปปฏิบัติธรรมที่วัดอีกหลายเล่ม  ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี่

Foreword

Happiness seems to be the most  important issue of life, because everyone seeks
happiness and wants to avoid suffering. Our family, parents, relatives and friends
want us to be happy. Humanists and social workers, too, are predisposed to 
wishing everyone happiness.
     However, the problem is that we almost never find true happiness, because we
seek happiness from material possessions, status and praise. Being materialistic,
we enjoy these worldly things and are unaware of the intermal happiness derived
from a well-trained mind, which is peaceful and brings real happiness .
    It is natural that we pay most attention to our boby, feeding it with fine foods,
setting aside time to exercise, cleaning and adorning ourselves with beautiful
clothes. But we overlook  or give least priority to our mind. We forget that the
mind is the chief. With right mindfulness, right thinking and right actions, any
human being is able to attain peaceful happiness.
     The corn purpose of this book is to establish right values so that the reader
turns more attention towards 'looking' at onr,s own mind. The practices presented
in this book can and should be practised by all. A well-trained mind, oen that is
strong, stable, patient and kind, will bring us true happiness and radiate benefit to
all society.













I am very happy to write this 'you too'

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คุยเรื่อง....สัตร์เลี้ยงมีบุญ

     ถาม... เห็นสัตว์เลี้ยง เป็นหมาหรือเป็นแมวก็แล้วแต่ เกิดมาป็นสัตว์เลี้ยง แล้วเจ้าของเลี้ยงดูอย่างดี
แสดงว่าสัตว์ตัวนั้นมีบุญกว่าคนใช่ไหมครับ?

     หลวงพ่อ... สัตว์มันก็มีบุณแบบสัตว์นะ จะมีบุญมากกว่าคนไม่ได้หรอก มนุษย์นี่... แม้แต่ขอทานก็ยังมีบุญมากกว่าสุนัขที่เขาเลี้ยงอยู่ในกรงทองเศรษฐี ถึงแม้เขาเลี้ยงให้กินดี แต่สู้มนุษย์ขอทานไม่ได้        สู้มนุษย์ที่พิกลพิกาลไม่ได้  มนุษย์นี้ยังมีโอกาสใช้ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือใช้ความดีของตัวเองนี้ สร้างอารมณ์ให้เป็นมนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติได้

             สุนัขมันไม่รู้อะไร แค่กินแค่นอนอย่างเดียว ไม่รูศาสนา ไม่รู้ธัมมะธัมโม ไม่รู้จะไปสั่งสอนให้คนได้ดีอะไร สุนัขมันดีได้เพียงส่วนหนึ่ง จะไปเปรียบเทียบกันไม่ได้

       ถาม... เป็นสัตว์เลี้ยงของเศรษฐีก็แค่มีความเป็นอยู่ที่ดี แต่เป็ฯคนยังสามรถพัฒนาให้สูงขึ้นได้

       หลวงพ่อ... มนุษย์นี้ประเสริฐที่สุด เปรียบเทียบไม่ได้ คนบางคนอาจจะคับแค้นใจแล้วคิดว่า

                    "เป็นหมาดีกว่า...ไม่ต้องทำมาหากิน"
                  แต่ถ้าหมามันพูดได้       มันก็คงจะพูดว่า
            "กูขอเป็นขอทานดีกว่า...ยังไงจะกินอะไรก็กินได้ วันๆ เขาก็ขัง ให้กินอย่างเดียวนี่ ไปไหนไม่ได้"

หลวงพ่อสนอง



คุณดำ  แมวที่บ้านค่ะ  ถ้ามันได้เกิดใหม่ก็อยากให้ได้เกิดเป็นคน




วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประวัติ-หลวงพ่อมิตชูโอะ คเวสโก (Mitsuo Gavesako)



พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก (Mitsuo Gavesako) พระอาจารย์มิตซูโอะ มีนามเดิมว่า มิตซูโอะ ชิบาฮาชิ เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ตรงกับวันจันทร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ณ จังหวัดอีวาเต้ประเทศญี่ปุ่น จบการศึกษาระดับไฮสคูล (ปวช.) สาขาเคมี เมื่อสำเร็จการศึกษา ท่านทำงานเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งแล้ว จึงออกเดินทางสัญจรรอนแรมจากบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔


ประวัติและปฏิปทา

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก  (Mitsuo Gavesako)
วัดป่าสุนันทวนาราม
ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

อัตโนประวัติ

เป็นที่ทราบกันดีว่า เจ้าประคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) อดีตเจ้าอาวาสแห่งวัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ท่านคือเอกอุพระกรรมฐานสายมหานิกาย ที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในหลายประเทศ ทั้งยุโรปและอเมริกา ปัจจุบันหลวงพ่อชามีทายาทธรรมถึง ๑๑๗ สาขาเป็นสักขีพยาน

จำเพาะวัดสาขาลำดับที่ ๑๑๗ เพชรแท้แดนปลาดิบ “พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก” เจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ยังทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมเป็นกิจวัตร ศิษย์ท่านไซร้มีทั้งคนไทยและคนต่างแดน

พระอาจารย์มิตซูโอะ มีนามเดิมว่า มิตซูโอะ ชิบาฮาชิ เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ตรงกับวันจันทร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ ณ จังหวัดอีวาเต้ ประเทศญี่ปุ่น จบการศึกษาระดับไฮสคูล (ปวช.) สาขาเคมี เมื่อสำเร็จการศึกษา ท่านทำงานเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งแล้ว จึงออกเดินทางสัญจรรอนแรมจากบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยได้ท่องเที่ยวเพื่อศึกษาชีวิต สังคม ประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในเอเชียใต้ ในตะวันออกกลาง อาทิเช่น ประเทศอินเดีย, เนปาล, อิหร่าน และในยุโรป เป็นเวลา ๒ ปีเศษ แล้วเปลี่ยนความตั้งใจที่จะไปแอฟริกา วกกลับสู่อินเดีย

พ.ศ. ๒๕๑๗ เมื่อเดินทางถึงพุทธคยา ประเทศอินเดีย ท่านจ้องมองเห็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ ก็ระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และประจักษ์ขึ้นมาในใจว่า “นี่คือสิ่งที่แสวงหา สัจจะความจริงอยู่ภายในกายกับใจของเรานี้เอง ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจ ทุกคนทุกชีวิตสามารถพ้นทุกข์ได้” ท่านจึงหยุดการแสวงหาจากภายนอก เข้าสู่การแสวงหาภายใน

จากนั้นท่านก็ได้ไปฝึกโยคะอยู่ที่สำนักโยคีแห่งหนึ่งในประเทศอินเดียนั่นเอง และก็เริ่มมีประสบการณ์โยคะบ้าง ท่านเกิดความพอใจ คิดว่าจะเป็นโยคีอยู่ที่อินเดียตลอดชีวิต แต่บังเอิญวีซ่าหมด มีคนแนะนำให้เดินทางมาประเทศไทย ต่อมาก็มีผู้แนะนำท่านให้ไปกราบหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งท่านก็ได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อตั้งแต่บัดนั้น

การบรรพชาและอุปสมบท

ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ขณะอายุ ๒๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรได้ ๓ เดือนก็พยายามแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม ทีแรกเพื่อนก็พาไปดูวัดที่ภาคใต้ ๓-๔ วัด เป็นวัดที่มีชาวต่างชาติไปปฏิบัติกัน แต่ท่านดูแล้วก็ยังไม่รู้สึกตกลงใจ หลังจากนั้นก็มีคนแนะนำให้ไปจังหวัดอุบลราชธานี ให้ไปหาหลวงพ่อชา ตอนนั้นก็มีพระชาวอินเดียที่พูดภาษาไทยได้พาไป นั่งรถทัวร์จากกกรุงเทพมหานครไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วท่านก็ยืนงงๆ อยู่ว่าจะไปวัดหนองป่าพงได้อย่างไร

ณ วัดหนองป่าพง ท่านได้พบกับพระฝรั่งชื่อเขมธัมโม ซึ่งก็เข้ามาช่วยแนะนำ เมื่อฉันจังหันเสร็จแล้วท่านสุเมโธและพระฝรั่งอีก ๔-๕ รูป ก็พาไปหาหลวงพ่อชาที่กุฏิ เมื่อบอกความประสงค์ที่จะมาขอปฏิบัติที่วัดหนองป่าพง หลวงพ่อชาซักถามว่ามาจากไหน มายังไง แล้วก็ถามชื่อ พระอาจารย์มิตซูโอะ ตอบว่า ชื่อ “ชิบาฮาชิ” (ชื่อมิตซูโอะ แต่ธรรมเนียมญี่ปุ่นจะใช้นามสกุลเป็นชื่อแนะนำตัวเอง) หลวงพ่อชาท่านก็จำเทียบเคียงเป็นภาษาไทยว่า สี่บาทห้าสิบ นับจากวันนั้นหลวงพ่อชาก็เรียกพระอาจารย์มิตซูโอะสั้นๆ ว่า “สี่บาทห้า” มาตลอด

“คำสอนข้อแรกที่หลวงพ่อชาสอน คือ เราต้องอดทน”

ครั้นเมื่อได้พบกับหลวงพ่อชาแล้ว รู้สึกซาบซึ้งในหลักธรรมและข้อวัตรปฏิบัติ จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ขณะอายุได้ ๒๔ ปี โดยมีพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระวิฑูรย์ จิตตสัลโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ถือว่าเป็นพระภิกษุรุ่นแรกที่หลวงพ่อชาอุปสมบทให้ จึงเรียกว่าเป็นสัทธิวิหาริกรุ่นแรกของหลวงพ่อชา

ลำดับการจำพรรษา

จากนั้นได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อชาตลอดระยะเวลา ๕ ปี แต่ในช่วงเข้าพรรษา ได้จำพรรษาอยู่ตามวัดสาขาของหลวงพ่อชา ภายในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้คือ

พรรษาที่ ๑ ได้จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ
พรรษาที่ ๒ ได้จำพรรษาที่วัดป่านานาชาติ ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ โดยมีพระอาจารย์สุเมโธ (ปัจจุบันคือพระราชสุเมธาจารย์) เป็นหัวหน้าคณะ
พรรษาที่ ๓ ได้จำพรรษาที่วัดป่าสุภัทราวาส (วัดป่าสุภัทราราม บ้านคำชะอี ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร)
พรรษาที่ ๔ ได้จำพรรษาที่วัดถ้ำแสงเพชร (วัดศาลาพันห้อง) ต.หนองมะแซว อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
พรรษาที่ ๕ ได้จำพรรษาที่วัดก่อนอก ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ
พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๔ เข้าห้องกรรมฐานเก็บอารมณ์ที่วัดสังฆทาน (หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ) ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี เป็นเวลา ๒ ปี

พ.ศ. ๒๕๒๕ ธุดงค์และปฏิบัติธรรมที่ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๘ ปฏิบัติธรรมที่วัดหนองป่าพงและวัดป่านานาชาติ พร้อมทั้งอุปัฏฐากรับใช้หลวงพ่อชาขณะท่านอาพาธ ร่วมกับคณะศิษยานุศิษย์หลวงพ่อชา เป็นเวลา ๓ ปี
พ.ศ. ๒๕๒๙ เดินทางกลับประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ ๑๔ ปี หลังจากมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔

สัทธิวิหาริกรุ่นแรกของหลวงพ่อชา

ท่านเป็นสัทธิวิหาริกรุ่นแรกของหลวงพ่อชา ได้จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง และได้อุปัฏฐากดูแลหลวงพ่ออย่างใกล้ชิดเป็นเวลานานด้วยความเคารพบูชาอย่างสูง รวมทั้ง ท่านอยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติ ซึ่งมีพระอาจารย์สุเมโธ (ปัจจุบันคือพระราชสุเมธาจารย์ หรือเจ้าคุณโรเบิร์ต เจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ) เป็นหัวหน้าคณะ

ตลอดระยะเวลาที่ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ในประเทศไทยนั้น ท่านบำเพ็ญเพียรมาหลายรูปแบบ และธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่อุดมสมบูรณ์และที่ทุรกันดาร ในประเทศไทยท่านได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการธุดงค์เพื่อหาความสงบวิเวกไปตามภาคต่างๆ ท่านได้รู้จักและเห็นความเป็นอยู่ของคนไทยทั่วทุกภาค ทั้งรู้สึกสำนึกในความศรัทธา ความเสียสละ และความเคารพของคนไทยที่มีต่อพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีส่วนทำให้ท่านยิ่งเร่งทำความเพียรมากขึ้น

การที่พระอาจารย์มิตซูโอะ ได้มาประเทศไทย และได้บวชเป็นศิษย์ต่างชาติท่านหนึ่งของหลวงพ่อพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) นั้น เป็นเรื่องที่ “เป็นไปเอง” ตั้งแต่เด็กๆ ท่านคิดเสมอว่า

“อะไรคือชีวิตที่น่าพอใจ...ชีวิตน่าจะมีอะไรที่มีคุณค่ามากกว่านี้...”

การเดินธุดงค์ในประเทศญี่ปุ่น

ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ พระอาจารย์มิตซูโอะ พร้อมลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่นอีกองค์หนึ่งชื่อ พระญาณรโต ได้ออกเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อเดินธุดงค์จากสนามบินนาริตะ ถึง PEACE MEMORIAL PARK เมืองฮิโรชิมา การเดินธุดงค์ครั้งนี้ใช้เวลาทั้งหมด ๗๒ วัน เป็นการเดินทางด้วยเท้ากว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตร

ตลอดทางได้โปรดศรัทธาญาติโยมทั้งคนไทยและคนญี่ปุ่นไปด้วย โทรทัศน์ของญี่ปุ่นติดตามถ่ายภาพทำสารคดีออกอากาศ เป็นการเผยแผ่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้อย่างดี รวมการเดินทั้งหมดประมาณ ๒ ล้าน ๒ แสนก้าว หลังจากนั้นท่านจึงได้อยู่จำพรรษา ณ วัด SHINAGAWA-JI ในกรุงโตเกียว

การเดินธุดงค์ครั้งนี้ พระอาจารย์มิตซูโอะ และพระญาณรโต ตั้งใจเดินเพื่อเป็นการระลึกถึงสันติภาพของโลก และตลอดการเดินธุดงค์นั้นท่านยังคงเคร่งครัดต่อพระวินัยโดยไม่มีการยืดหยุ่น คือการไม่ถือเงิน และการฉันมื้อเดียวด้วยการอาศัยอาหารที่ได้จากการบิณฑบาตหรืออาหารที่มีผู้จัดถวาย นอกจากนั้นพระภิกษุทั้ง ๒ รูป ยังได้สมาทานการเดินธุดงค์โดยไม่มีการนั่งรถ นับตั้งแต่สนามบินนาริตะจนถึงเมืองฮิโรชิมา

ดังนั้นระหว่างการเดินทาง ท่านได้ประสบและพบเห็นกับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ท่านหวนระลึกได้ว่าสันติภาพที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในโลกได้ ก็ต่อเมื่อชาวโลกทั้งหลายละความเห็นแก่ตัว โดยการให้ทาน ๑๐ ประการ เป็นทานจักร แล้วสังคมของเรา โลกของเราก็จะมีแต่ความสงบ ความร่มเย็น โดยไม่ต้องสงสัย

ในประเทศญี่ปุ่น เด็กๆ และเยาวชนได้รับการปฏิบัติราวกับเป็นสมบัติอันมีค่า เพราะชาวญี่ปุ่นถือว่าเด็กและเยาวชนคือทรัพยากรที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และด้วยความปรารถนาที่จะเห็นเด็กไทยมีโอกาสเหมือนเด็กญี่ปุ่นบ้าง พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก จึงได้ปรารภปัญหาดังกล่าวรวมทั้งความประสงค์ในการสงเคราะห์เด็กๆ ของไทยแก่ญาติโยมชาวญี่ปุ่น ซึ่งท่านเหล่านั้นเมื่อได้ฟังแล้วก็ยินดีสนับสนุนในการจัดหาทุนเพื่อโครงการนี้กันอย่างเต็มที่ โดยเริ่มแรกได้ถวายทุนมาเป็นจำนวนเงิน ๑๖๐,๐๐๐ บาท

จัดตั้งมูลนิธิมายา โคตมี

ดังนั้น ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เมื่อพระอาจารย์มิตซูโอะ เดินทางกลับถึงประเทศไทย ท่านจึงได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความดำริของท่านและการสนับสนุนจากสาธุชนชาวญี่ปุ่นให้ศรัทธาญาติโยมชาวไทย อาทิเช่น คุณสิริลักษณ์ รัตนากร, คุณวิชา มหาคุณ, คุณสุขสันต์ จิรจริยาเวช และคุณดารณี บุญช่วย ฟัง ท่านทั้ง ๔ เห็นดีและสนับสนุนในกุศลเจตนาของพระอาจารย์ และมีความเห็นว่าน่าจะได้ดำเนินการในรูปของมูลนิธิ

ในที่สุดด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย คุณสุขสันต์ จิรจริยาเวชและผู้ช่วยคือคุณสุกัญญา รัตนนาคินทร์ จึงได้เริ่มจัดตั้งและจดทะเบียนมูลนิธิจนแล้วเสร็จเป็นมูลนิธิมายา โคตมี ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยมีคุณมนูญ เตียนโพธิ์ทอง อนุเคราะห์สถานที่ให้เป็นที่ตั้งของมูลนิธิ

ชื่อของมูลนิธิ “มายา โคตมี” นั้น มาจากพระนามของพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา และพระนางปชาบดีโคตมี พระน้านาง ซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของพระมารดาทั้ง ๒ พระองค์ ที่ได้ทรงทะนุถนอมเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะจนเติบใหญ่ กระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาและคุณประโยชน์อันหาค่ามิได้แก่ชาวโลก ตราบเท่าทุกวันนี้

สำหรับตราสัญญลักษณ์ของมูลนิธินั้น เนื่องจากมูลนิธิมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษาและจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนในชนบท พระอาจารย์มิตซูโอะจึงเห็นควรที่จะอัญเชิญพระรูปของพระพุทธองค์ปางประสูติประทับยืนบนดอกบัว เบื้องหน้าของวงล้อแห่งทานจักร ๑๐ ประการ อันเป็นหัวใจของมูลนิธิ เป็นสัญญลักษณ์ของมูลนิธิ โดยล้อมรอบด้วยวงกลม ๒ ชั้น ซึ่งภายในวงกลมด้านบนมีชื่อภาษาไทยว่า “มูลนิธิมายา โคตมี” ด้านล่างเป็นชื่อภาษาอังกฤษว่า “MAYA GOTAMI FOUNDATION”

ทั้งนี้ เพื่อให้ตราสัญญลักษณ์เป็นนิมิตหมายว่า การที่เราทั้งหลายร่วมมือร่วมใจกันหมุนทานจักร ๑๐ ประการนี้ จะยังผลให้เด็กและเยาวชนในอุปการะของมูลนิธิฯ เติบโตขึ้นเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้มีความรู้ ความเฉลียวฉลาด มีกิริยามารยาทงดงาม มีจิตใจที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมเช่นเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะ ฉะนั้น

ปัจจุบันที่ทำการมูลนิธิมายา โคตมี
ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๓๗๘ อาคารสงเคราะห์ สาย ๒๐ ก. แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๒๐
 โทรศัพท์ ๐๒-๖๗๖-๓๔๕๓, ๐๒-๖๗๖-๔๓๒๓
โทรสาร ๐๒-๒๘๖-๘๖๙๐
 E-mail address : mayakotami@hotmail.com, mayagotami@gmail.com


สร้างวัดป่าสุนันทวนาราม

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ นางสุนันท์ บุษสาย คหบดีชาวจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ประกอบธุรกิจเหมืองแร่และครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวนมากภายในจังหวัดกาญจนบุรี มีความศรัทธาในปฏิปทาและข้อวัตรอันเคร่งครัดของพระธุดงค์สายวัดป่า (สายหลวงพ่อชา สุภัทโท) ผู้ซึ่งเดินธุดงค์รอนแรมอยู่ในป่าเขาบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี

จึงได้ถวายที่ดินประมาณ ๕๐๐ ไร่ ซึ่งหมดสภาพป่า และทำไร่อ้อยมาประมาณ ๒๐ ปี ณ บริเวณบ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เพื่อจัดตั้งวัด ทั้งนี้ เพื่อพระสงฆ์จะได้มีเสนาสนะ และชาวบ้านจะได้มีโอกาสเข้าวัดปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระธุดงค์สายวัดป่า อีกทั้ง เมื่อมีพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเข้าไปพำนักจำพรรษาอยู่ จะสามารถยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่าและการล่าสัตว์ในบริเวณดังกล่าวได้อีกด้วย

พระอาจารย์มิตซูโอะ ผู้ได้บวชบำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งที่อุดมสมบูรณ์และทุรกันดาร และเป็นผู้ซึ่งอยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติ ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ได้รับมอบหมายให้มาเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งสำนักสงฆ์ ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ “วัดป่าสุนันทวนาราม” ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ด้วยเจตนารมณ์ในการเผยแผ่การปฏิบัติธรรมแก่พุทธศาสนิกชนในละแวกนั้นและละแวกใกล้เคียง ตลอดจนเพื่อให้ราษฎรรู้จักหวงแหนและร่วมกันอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่า ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดป่าให้เป็นวัดป่าอย่างแท้จริง

ด้วยข้อวัตรอันเคร่งครัดและเรียบง่ายของความเป็นพระป่าของพระอาจารย์มิตซูโอะ ทำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงเข้าวัดปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก

การสถาปนาสำนักสงฆ์วัดป่าสุนันทวนารามบนพื้นที่ดังกล่าว เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะสถาบันวัดได้เข้าไปเป็นอุปสรรคต่อการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์ ด้วยความเพียรไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคของคณะผู้บุกเบิกนำโดยพระอาจารย์มิตซูโอะ จึงสามารถพัฒนาพื้นดินซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรมด้วยการทำไร่อ้อย จนกระทั่งเป็นพื้นที่ซึ่งเขียวชอุ่มไปด้วยต้นไม้ยืนต้นน้อยใหญ่ มีเสนาสนะอันสมควรแก่สำนักสงฆ์ได้แก่ ศาลาปฏิบัติธรรม โรงฉัน และที่พักสำหรับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตามสมควร

พ.ศ. ๒๕๔๕ กองทัพบกได้มอบที่ดินราชพัสดุ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งติดต่อกับเขตวัดป่าสุนันทวนารามจำนวน ๑๒ ไร่ ให้ใช้เพื่อสร้างวัดได้ และได้ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีผูกพัทธสีมา-ฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ วัดป่าสุนันทวนารามจึงเป็นวัดสมบูรณ์แต่นั้นมา

งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

พระอาจารย์มิตซูโอะ ได้จัดอบรมสมาธิวิปัสสนากรรมฐานแบบ “อานาปานสติ” ที่วัดป่าสุนันทวนาราม เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๙-๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ และได้มีการจัดอบรมเป็นระยะๆ ตั้งแต่นั้นมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน

เมื่อวัดป่าสุนันทวนารามจัดตั้งเป็นวัดสมบูรณ์แล้ว ท่านได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาจนเป็นที่ศรัทธาของประชาชน โดยจัดอบรมสมาธิวิปัสสนากรรมฐานแบบ “อานาปานสติ” แก่พุทธศาสนิกชนปีละ ๖ ครั้งๆ ละ ๘-๙ วัน รวมไม่ต่ำกว่า ๓๗ ครั้ง

อีกทั้ง ยังรับเป็นวิทยากรจัดฝึกอบรมตามคำขอของทางราชการ ทั้งตำรวจ ทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครอง คณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจน ศรัทธาญาติโยมและสาธุชนทั่วไป ตามโครงการธรรมศึกษาสัญจรวัดสุนันทวนาราม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน ปีละประมาณ ๕,๐๐๐ คน

ในส่วนของหนังสือธรรมะที่รวบรวมธรรมบรรยายของท่านนั้น มีจำนวนกว่า ๒๕ เล่ม อาทิเช่น หนังสือธรรมไหลไปสู่ธรรม, พลิกนิดเดียว, ทุกข์เพราะคิดผิด, ทุกขเวทนา, ผิดก่อน-ผิดมาก, ผิดก่อน-ผิดมาก, สอนคนขี้บ่น, ปัญหา ๑๐๘ (๑)-(๔), อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข ๑-๓, ชั่วโมงแห่งความคิดดี, เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก, The Seven Practices for a Healthy Mind และสติเป็นธรรมเอก เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว ยังมีเทป-ซีดี-วีซีดี รวบรวมธรรมบรรยายและแนวทางการปฏิบัติธรรม จำนวนมากมายหลายชุด ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ตลอดจน มีการเผยแผ่ธรรมทางอินเตอร์เน็ต ในเว็บไซต์วัดป่าสุนันทวนาราม http://www.watpahsunan.org/ อีกด้วย

งานอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

งานอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เป็นหัวใจสำคัญ นับตั้งแต่เริ่มเข้าไปจัดตั้งวัดป่าสุนันทวนาราม ท่านได้มีบทบาทในการอนุรักษ์ป่าไม้ อาทิ ได้กำหนด “เขตอภัยทาน” ขึ้นภายในพื้นที่วัดและพื้นที่ต่อเนื่อง, เข้าร่วมโครงการของกรมป่าไม้ภายใต้ชื่อ “พระสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้” ตั้งแต่วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นต้นมา, ปลูกป่าและรักษาสภาพแวดล้อม พื้นที่กว่า ๕,๖๐๐ ไร่ มีต้นไม้เบญจพรรณ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น และอื่นๆ อีกกว่า ๕๐,๐๐๐ ต้น

ด้วยปฏิปทาข้อวัตรปฏิบัติอันงดงามและน่าศรัทธาเลื่อมใสของท่านและคณะสงฆ์ เป็นสาเหตุสำคัญของการหยุดยั้งการทำลายป่า ส่วนการล่าสัตว์ได้บรรเทาลงอย่างมาก

พ.ศ. ๒๕๔๔ ร่วมมือกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี จำนวนพื้นที่ ๒๐๐ ไร่

พ.ศ. ๒๕๔๕ ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ปลูกป่าจำนวนพื้นที่ ๑๐๐ ไร่ แล้วนำพื้นที่ซึ่งปลูกป่านี้ขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เข้าร่วมในโครงการปลูกป่า ๑ ในจำนวน ๙ ป่า ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา โดยปลูกป่าต้นสาละ (ต้นไม้ในพุทธประวัติ) จำนวนพื้นที่ ๔๐ ไร่

นอกจากเป็นพระนักอนุรักษ์แล้ว พระอาจารย์มิตซูโอะท่านยังให้ความรู้แก่ชาวบ้าน โดยร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในโครงการชุมชนร่วมใจรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพชีวิต รักษาระบบนิเวศ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

งานส่งเสริมการศึกษา

ด้วยเมตตาธรรมและเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของเยาวชน ตลอดจนเพื่อตอบแทนบุญคุณชาวบ้านจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดกาญจนบุรี ที่อุปัฏฐาก จึงก่อตั้งมูลนิธิมายา โคตมี ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จัดสรรทุนการศึกษาแก่เยาวชนด้อยโอกาสในชนบท เป็นทุนการศึกษาแบบต่อเนื่องตั้งแต่มัธยมจนจบอุดมศึกษา ซึ่งได้มาจากผู้มีจิตศรัทธาในปฏิปทาของท่านทั้งจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวญี่ปุ่น นับถึงปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๑๓ ปีแล้ว ได้มอบทุนการศึกษาไปแล้วจำนวน ๓,๓๒๓ ทุน

กิจกรรมที่มูลนิธิมายา โคตมี ให้ความสำคัญ คือการอบรมจริยธรรม ตลอดจนอบรมความรู้เกี่ยวกับปัญหาร้ายแรงของสังคมปัจจุบัน คือปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียนรับทุนของมูลนิธิฯ ทุกปี ปีละประมาณ ๖-๗ วัน ถือเป็นภารกิจสำคัญของผู้รับทุน

อีกทั้งสนับสนุนจักรยานเพื่อเป็นยานพาหนะไปโรงเรียนแก่เยาวชนด้อยโอกาสในท้องถิ่นชนบทที่บ้านพักอาศัยอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดกาญจนบุรี รวม ๑,๕๙๔ คัน ให้เงินสมทบเพื่อผลิตวัตถุดิบ เช่น ทุนในการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เพาะเห็ด เพื่อเป็นอาหารกลางวันแก่โรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี ๔๖ โรงเรียน และจังหวัดกาญจนบุรี ๒ โรงเรียน

ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทย-ญี่ปุ่น จากโรงเรียนสำโรงวิทยาคาร จ.อุบลราชธานี กับโรงเรียนอิชิโนเอะ และโรงเรียนไทรโยคมณี-กาญจน์วิทยา จ.กาญจนบุรี กับโรงเรียนโอโตเบะ ได้มีการเดินทางแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างอาจารย์และนักเรียนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ ความรู้จักคุ้นเคย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ

ชาวอุบลราชธานีได้อุปัฏฐากท่านและพระอาจารย์องค์อื่นๆ ด้วยใจศรัทธา ท่านพูดถึงชาวบุ่งหวายและชาวบ้านก่อนอกว่า “เหมือนเป็นพ่อแม่พี่น้องของอาตมา ได้อุปการะเลี้ยงดูอาตมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร” และนี่คือที่มาของมูลนิธิมายา โคตมี ที่ท่านริเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เพื่อช่วยเหลือให้ทุนการศึกษา และจัดอบรมจริยธรรมให้เยาวชนด้อยโอกาสในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ ซึ่งการให้ทุนการศึกษาได้ขยายออกไปยังอีกหลายจังหวัดของประเทศไทยในเวลาต่อมา

ผลงานและเกียรติคุณดีเด่น

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้ถวายโล่เชิดชูเกียรติคุณในฐานะเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดกาญจนบุรี สาขามนุษยศาสตร์ จึงถือได้ว่าท่านเป็นเพชรแท้จากแดนปลาดิบ ศิษย์ธรรมสายหลวงพ่อชา สุภัทโท ผู้อุทิศถวายตนเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

ที่มา : http://www.phuttha.com/monk

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คุยเรื่อง....ขอ กับหลวงพ่อสนอง

ถาม..เรื่องเกี่ยวกับการทำบุณของชาวพุทธนี่นะครับ บางครั้งนี่นะครับ ไปทำบุณแล้วก็หวังผลที่จะได้จากบุณที่ตัวเองได้ทำก็อธิฐาน และก็ขอในสิ่งต่างๆ อย่างเช่น ขอให้ถูกหวยบ้าง ขอให้รวยบ้าง ขอให้มีโชคมีลาภ การที่เราทำบุณแล้วเราขอในสิ่งต่างๆแบบนี้ ในหลักของศาสนาพุทธนี่ถือว่าถูกต้องหรือเปล่า ?

หลวงพ่อ... เรื่องการขอนี่มันมีทุกศาสนา เหมือนขอมากขอน้อย อย่างทุกศาสนาเขาก็ขอนะ ขอให้พระเจ้าช่วยเขา ขอให้เขาไปเรียนเมืองนอก เขาก็ขอร่ำรวย ขอให้พระเจ้าช่วยเขา เขาขอตั้งแต่เช้ายันเย็นเลยนะ เขาขอมากกว่าเราอีก

ถาม อย่างนี้ก็ถือว่าทำได้ ?

หลวงพ่อ.. ทำได้ แต่พระพุทธศาสนานี่บอกไม่ต้องขอได้ ขอให้ ทำ


ถ้าเราทำดีไม่ต้องขอ มันได้เอง

หลวงพ่อสนอง กตปญโญ  วัดสังฆทาน  นนทบุรี

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประวัติ-ดังตฤณ

















ชีวิตถึงวันนี้ทำให้ผมมีจุดยืนจุดหนึ่ง
คือไม่คิดจะแข่งกับพวกใด
และไม่คิดจะเข้าไปเป็นพวกใคร
เพราะไม่เคยสงบใจกับการเป็นพวกไหนๆ
แต่อยากหาพวกให้พระพุทธเจ้า
เพราะพิจารณาแล้วว่าพวกที่เคยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ร่มไทรนี้เป็นสุขสงบจริง



ตฤณ อ่านว่า "ตริน" แปลว่า "หญ้า"

ดังตฤณ = เหมือนหญ้า หรือ เสมอกันกับหญ้าสักต้นหนึ่ง
ใช้ชื่อนี้ครั้งแรกเมื่อเขียนบทความลงนิตยสารธรรมะ
ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. ๒๕๓๔ แล้วเลยนำมาใช้ในเน็ตด้วย
จากวันแรกจนทุกวันนี้ก็ไม่รู้สึกว่าชื่อนี้คือตัวเรา
เป็นแค่นามหนึ่งที่ใช้สมมุติเพื่อแลกเปลี่ยนธรรมะธรรมดา
หนังสือธรรมะเล่มแรกที่ทำให้ซาบซึ้งพุทธศาสนาเป็นของท่านอาจารย์ธรรมรักษา
เคยบวชกับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี
ปัจจุบันทำงานเป็นนักเขียน ทั้งแนวเรื่องแต่งและแนววิชาการ

จุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตคือทำให้คนยุคเดียวกัน 'รู้จักพระพุทธเจ้า'

ได้รับแรงบันดาลใจในการเป็นนักเขียนจากครูบาอาจารย์มากมายนับไม่ถ้วน ทั้งฝ่ายโลกฝ่ายธรรม ผู้ที่ทำให้นึกถึงเสมอๆ ได้แก่กฤษณา อโศกสิน ให้แรงบันดาลใจในการเขียนแบบชัดแจ้งสมจริง ฟริตจอฟ คาปรา ให้แรงบันดาลใจในการเขียนสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ ผ่านความน่าทึ่งทางวิทยาศาสตร์ ท่านอาจารย์แสง จันทร์งาม (ธรรมโฆษ) ให้แรงบันดาลใจในการเขียนธรรมะแบบเคลือบหวาน

สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง



ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ

ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น.
มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)
บวชเป็น สามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตรต่อมาย้ายมา
ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี
ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ
และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง
ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ
และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้า
สมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทรพระบรมโอรสาธิราช
ให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ
บวช เป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี
สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวง
โดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก
ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น
แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไปเป็นเจ้าอาวาสวัด ระฆังฯ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง
เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ
ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี
ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น “พระธรรมกิตติ”
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395
ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน
พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น “พระเทพกวี”
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น“สมเด็จพระพุฒาจารย์”
ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า “สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง”
เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง “สมเด็จโต”
ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี
อายุพรรษาได้ 56 พรรษาแล้วมรณภาพ
สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ
มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234
ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ
บนศาลาใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม
สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์
ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา
สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดี
ต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่ยิ่ง
ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ

พระคาถาชินบัญชร (ข้อมูล) (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน)
เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย

ชินบัญชร แปลว่า กรง ซี่กรงของพระชินเจ้า

ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า และคำว่า บัญชร ซึ่งแปลว่า กรง ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้

พระวาจาตรัสเรื่องคาถาชินบัญชร

คาถาชินบัญชร เป็นที่นับถือสวดกันอย่างแพร่หลาย กล่าวกันว่าเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เคยได้นำมาขอให้แปล เพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ครั้งหนึ่ง เมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างได้ ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นเองหรือได้ต้นฉบับมาจากไหน

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาให้เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็ก พิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of The Dhamma (กระจกธรรม)โดยท่านนารทมหาเถระ และท่านกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ (ของศรีลังกา ตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๓ ของไทย) ค.ศ.๑๙๖๑ เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่จะใช่สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้ เริ่มแต่ นโมพุทฺธ ศีล๕ ศีล๘ ศีล๑๐ คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบูชา คำสมาธิภาวนาต่าง ๆ บทสวดมี พาหุง ชินบัญชร มงคลสูตร รัตนสูตร เป็นต้น ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหฬและอักษรโรมัน มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อได้อ่านชินบัญชรในหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึงจับความได้ หายความข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดจะปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตรฉบับลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย

ทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้ว ก็รู้สึกว่าต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่ ฉบับลังกานั้นมี ๒๒ บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี ๑๔ บท ก็คือ ๑๔ บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ ๑๔ ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก คาถาบทที่ ๙ ของฉบับไทย บรรทัดที่ ๒ น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้ ส่วนคาถาบทที่ ๑๒ และ ๑๓ สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี

ในการพิมพ์ครั้งนี้ เรียงชินบัญชรฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ปรับปรุงขึ้นใหม่ อนุวัตรแบบลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควร และมีคำแปลเป็นภาษาไทย ที่แปลขึ้นใหม่ในคราวนี้เช่นเดียวกัน ในการแปลครั้งนี้ ไม่ได้เทียบกับคำแปลเก่าที่เคยแปลไว้เพราะไม่พบฉบับที่แปลไว้ บทสวด พาหุง และชินบัญชร เป็นที่นิยมสวดกันในเมืองไทยมาช้านาน แต่บทสวดพาหุง มีถ้อยคำที่ยุติแน่นอน ส่วนบทสวดชินบัญชร แต่ละฉบับ แต่ละสำนัก ยังผิดแผกกันอยู่ ถ้าอาจทำให้ยุติเป็นแบบเดียวกันได้ ก็จะเป็นการดี

สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ตุลาคม ๒๕๑๘
Reference: www..wikipedia.org/wiki/พระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชร
ในการสวด คาถาชินบัญชร เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งๆ ขึ้น ก่อนจะเจริญภาวนา
จึงขอให้ตั้งนะโม 3 จบ และน้อมจิตระลึกถึงคุณพระคุณสมเด็จโต ด้วยคำบูชาดังนี้

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง   ธะนะกาโมละเภธะนัง

อัตถิกาเยกายะ ญายะ    เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา             ยะมะราชาโน
ท้าวเวสสุวัณโณ           มรณังสุขัง
อะระหังสุคะโต              นะโมพุทธายะ

๑.
ชะยา สะนา กะตา พุทธา  เชตะวา มารัง สะวา หะนัง
จะตุ สัจจา สะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะรา สะภา

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
๒.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา       อัฏฐะวีสะติ นา ยะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเก เต มุนิส สะรา
มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงนามว่า ตันหังกร เป็นอาทิ พระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น

๓.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโล จะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง     อุเร สัพพะคุณา กะโร
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศรีษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

๔.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ                   สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภา คัสสะมิง     โมคคัลลาโน จะวา มะเก
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง

๕.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง        อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะมะหา นาโม      อุภาสุง วามะโส ตะเก
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

๖.
เกสะโต ปิฏฐิภา คัสสะมิง     สุริโย วะ ปะภัง กะโร
นิสินโน สิริสัม ปันโน           โสภีโต มุนิปุง คะโว
มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
๗.
กุมาระกัสสะโป เถโร                มะเหสี จิตตะวา ทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง          ปะติฏฐาสิ คุณา กะโร
พระเถระกุมาระกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากประจำ

๘.
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ           อุปาลี นันทะสี วะลี
เถรา ปัญจะอิเม ชาตา            นะลาเต ติละกา มะมะ
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

๙.
เสสา สีติ มะหาเถรา       วิชิตา ชินะสา วะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา         ชิตะวันโต ชิโน ระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ    อังคะมังเค สุสัณ ฐิตา
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

๑๐.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ          ทักขิเณ เมตตะสุต ตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ      วาเม อังคุลิมา ละกัง
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง

๑๑.
ขันธะโม ระปะริตัญ จะ        อาฏานาฏิยะสุต ตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ        เสสา ปาการะ สัณฐิตา
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตรเป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

๑๒.
ชินานา วะระสังยุตตา         สัตตัปปาการะลัง กะตา
วาตะปิตตาทิสัญ ชาตา       พาหิรัช ฌัตตุปัท ทะวา
อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

๑๓.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ         อะนันตะ ชินะเต ชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจ นะ     สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศอย่าให้เหลือ


๑๔.
ชินะ ปัญชะระ มัชฌัมหิ      วิหะรันตัง มะหิี ตะเล
สะทา ปาเลนตุมัง สัพเพ    เต มะหาปุริสา สะภา
ขอพระมหาบุรุษ ผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล

๑๕.
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข     ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตา ริสังโฆ        สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะ ราโย
สัทธัมมานุภาวะ ปาลิโต              จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ ฯ

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ


หลวงปู่เพียร วิริโย

เหตุเนื่องจากเพื่อนที่บวชเป็นพระเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ 
เมื่อท่านมรณภาพ  ได้นำผงอังคารมาฝากไว้ให้บูชา  ให้ระลึกถึงความเมตตา
และการเป็นพระปฏิบัติของท่าน   ซึ่งตามคำสอนของพระพุทธองค์ผู้ลงมือปฏิบัติตามคำสอน
จึงจะเข้าใจในคำสอน  จึงได้นำประวัติหลวงปูมาลงไว้ ณ ที่นี้

หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง มรณภาพ


สิ้นหลวงปู่เพียร วิริโย พระสายวิปัสนากรรมฐานศิษย์หลวงปู่มั่นและหลวงตามหาบัว เตรียมพระราชทานเพลิงศพเรียบง่ายตามอย่างพระป่า ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน เวลา 09.30 น. ที่วัดป่าหนองกอง ต.บ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ หลวงตามหาบัว ญานสัมปันโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ประกอบพิธีรดน้ำเคารพศพ "หลวงปู่เพียร วิริโย" เจ้าอาวาสวัดป่าหนองกอง พระสงฆ์สายวิปัสนากรรมฐานรูปสำคัญของภาคอีสาน และมีนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยลูกศิษย์ที่ทราบข่าวต่างเดินทางมาร่วมพิธี ส่วนพิธีพระราชทานเพลิงศพจะจัดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม เวลา 16.00 น. แบบเรียบง่ายอย่างพระป่า โดยไม่มีการตั้งศพไว้ 100 วัน เหมือนพระสงฆ์มีชื่อเสียงทั่วไป

ประวัติหลวงปู่เพียร วิริโยวัดป่าหนองกอง

หลวงปู่เพียร วิริโย อายุ 83 ปี 61 พรรษา เป็นบุตรของนายพา นางวัน จันได เกิดพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2469 ที่บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี หรือ จ.ยโสธร ในปัจจุบัน บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดป่าศรีฐาน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2490 เมื่ออายุครบ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระสงฆ์ที่วัดเดียวกัน หลังศึกษาพระธรรมระยะหนึ่ง ก็ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ จนได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสนาภาคอีสาน

เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่มั่น หลวงปู่เพียรได้ตามหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนมาสร้างวัดป่าบ้านตาดจนแล้วเสร็จ ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปจำวัดอยู่กับหลวงปู่บัว ปริบุญโน วัดราษฎรสงเคาระห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี กระทั่งมาพบสถานที่สร้างวัดป่าหนองกอง เห็นว่าเป็นที่สงบเหมาะสร้างวัดปฏิบัติธรรม หลวงปู่เพียรจึงสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้จนมั่นคงสืบมา

หลวงปู่เพียร เริ่มมีอาการอาพาธเมื่อปี พ.ศ. 2546 กระทั่งในปี 2548 ได้เข้ารับการตรวจรักษาที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดและโรคหัวใจ ต่อมาในปี 2552 ก็เข้ารับการตรวจรักษาบ่อยขึ้น ล่าสุดเมื่อเวลา 09.00 น. ของวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ลูกศิษย์ได้นำหลวงปู่เพียรที่มีอาการอาพาธส่ง รพ.ศูนย์อุดรธานี และได้รับการส่งต่อไปรักษาที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ก่อนที่หลวงปู่เพียร จะมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา 01.28 น. ของวันที่ 23 มิถุนายน

คณะศิษย์จัดงานรดน้ำศพหลวงปู่เพียร วิริโย แห่งวัดป่าหนองกอง หลังมรณภาพช่วงกลางดึกที่ผ่านมา

ที่มาหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์

Tags หลวงปู่เพียร - หลวงปู่เพียร วิริโย - วัดป่าหนองกอง - หลวงปู่เพียร มรณภาพ - หลวงปู่เพียร วัดป่าหนองกอง